ผศ.ดร.มุจลินทร์ ผลจันทร์ (ม.แม่โจ้) หัวหน้าทีม MJU SWAP เปิดเผยว่า ปัญหาขยะ เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของทุกประเทศทั่วโลก ทุกประเทศมีการตื่นตัวและให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง ปัญหาดังกล่าวนับวันยิ่งทวีความรุนแรงตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ อัตราการเจริญเติบโตของประชากรและปริมาณการบริโภคสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น แนวทางที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาที่ทุกประเทศให้ความสำคัญก็คือการวางนโยบายและการวางแผนการจัดการของเสียอย่างยั่งยืน โดยมองการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง
![](https://www.cmthainews.com/wp-content/uploads/2023/06/3-2.jpg)
ซึ่งนอกจากจะมุ่งไปที่การใช้เทคโนโลยีในการกำจัดและจัดการของเสียที่เหมาะสมแล้ว ความสำเร็จของการจัดการของเสียยังต้องขึ้นอยู่กับความร่วมมือของชุมชนและตัวบุคคลด้วย ดังนั้นการพัฒนาในเรื่องเทคโนโลยีจะต้องควบคู่ไปกับการพัฒนากำลังคนและเพิ่มองค์ความรู้ให้ชุมชนซึ่งเป็นการวางแผนการจัดการจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน เพื่อให้การจัดการของเสียเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน
![](https://www.cmthainews.com/wp-content/uploads/2023/06/1-2.jpg)
ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นที่มาของโครงการ Sustainable solid waste management and policies (SWAP) ซึ่งโครงการนี้เป็นการรวมกลุ่มการทำงานของนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานด้านการจัดการของเสียจาก 12 ประเทศ ทั้งยุโรป ได้แก่ Hamburg University of Technology (TUHH) ประเทศเยอรมัน. I.F.O.A. – Istituto Formazione Operatori Aziendali ประเทศอิตาลี POLIBA – Politecnico Di Bari ประเทศอิตาลี และ EURO Training Educational Organization ประเทศกรีซ และเอเชีย ได้แก่ HUAF – Hue University of Agriculture and Forestry ประเทศเวียดนาม TUAF – Thai Nguyen University of Agriculture and Forestry ประเทศเวียดนาม RUA – Royal University of Agriculture, P.O. Box 2696 ประเทศกัมพูชา UHST – University of Heng Samrin Thbongkhmum ประเทศกัมพูชา COMPOSTED – Cambodian Education and Waste Management Organisation ประเทศกัมพูชา ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU) University ประเทศไทย และหลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MJU) ประเทศไทย
![](https://www.cmthainews.com/wp-content/uploads/2023/06/2-2.jpg)
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือกันทำวิจัยในการพัฒนาระบบการจัดการและวางนโยบายด้านของเสียที่มั่นคงอย่างยั่งยืน เพื่อสนับสนุนการสร้างบุคลากรที่มีขีดความสามารถในการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับการจัดการและวางนโยบายด้านของเสียตลอดจนการจัดการฝึกอบรมด้านเทคนิคและวิชาชีพของผู้กำจัดและจัดการขยะในประเทศเวียดนาม ประเทศไทยและประเทศกัมพูชา
![](https://www.cmthainews.com/wp-content/uploads/2023/06/4.jpg)
![](https://www.cmthainews.com/wp-content/uploads/2023/06/6.jpg)
ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสำหรับการจัดการขยะมูลฝอยจึงเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในประเทศเหล่านี้ นอกจากนี้ยังได้มองการพัฒนาและความร่วมมือทางวิชาการในด้านการพัฒนาหลักสูตรเฉพาะทางและโปรแกรมการฝึกอบรมที่นำไปสู่ความยั่งยืนถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่จะนำไปสู่การสร้างผู้เชี่ยวชาญในอนาคต โดยมีระยะเวลาการดำเนินงาน 3 ปี
![](https://www.cmthainews.com/wp-content/uploads/2023/06/9-1.jpg)
![](https://www.cmthainews.com/wp-content/uploads/2023/06/11-1.jpg)
ทั้งนี้ ในระหว่างวันที่ 20-23 มิถุนายน 2566 ผศ.ดร.มุจลินทร์ ผลจันทร์ (ม.แม่โจ้) หัวหน้าทีม MJU SWAP ผู้แทนมหาวิทยาลัยฯ ได้รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Consortium and quality committee meeting ของโครงการการจัดการและวางนโยบายด้านของเสียที่มั่นคงอย่างยั่งยืน (Sustainable solid waste management and policies (SWAP) ณ โรงแรม Movenpick Suriwongse Hotel Chiang Mai จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 20-21 มิถุนายน 2566 โดยมี ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฯ เพื่อรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการจากประเทศสมาชิก ทั้งในเรื่องของการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนและการจัดอบรมสำหรับ T-VET course การพัฒนา Training Hub ด้านการจัดการของเสีย และกิจกรรม raising awareness สำหรับ young generation และ Public event ที่ได้ดำเนินการในประเทศต่างๆ
![](https://www.cmthainews.com/wp-content/uploads/2023/06/12-1.jpg)
![](https://www.cmthainews.com/wp-content/uploads/2023/06/14-1.jpg)
โดยในวันที่ 22 มิถุนายน 2566 ผู้จัดโครงการ ได้พาคณะฯ เข้าพบ รศ.ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้บริหารของคณะวิทยาศาสตร์ จากนั้นได้เข้าเยี่ยมชมความก้าวหน้าของ Training hub สำหรับการจัดการอบรมด้านการจัดการของเสียของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ณ หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ ศูนย์การเรียนรู้และจัดการขยะแบบครบวงจร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ลานปุ๋ยหมัก โรงบำบัดน้ำเสียรวมของมหาวิทยาลัย ก่อนเข้าเยี่ยมชมหน่วยบริการทางวิชาการของคณะวิทยาศาสตร์ ศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะอินทรีย์ด้วยไส้เดือนดินและการปลูกกัญชาอินทรีย์เพื่อการแพทย์ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้โดยมี ศ.ดร.อานัฐ ตันโช ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อกำจัดขยะอินทรีย์ การทำปุ๋ยอินทรีย์ และมาตรฐาน IFOAM จากนั้นในวันที่ 23 มิถุนายน คณะได้เข้าเยี่ยมชมความก้าวหน้าของ Training hub สำหรับการจัดการอบรมด้านการจัดการของเสียของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ และศูนย์บริหารจัดการชีวมวลแบบครบวงจร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ด้วย
Like (0)