หน้าแรก ไม่มีหมวดหมู่ อบจ.แม่ฮ่องสอน ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

อบจ.แม่ฮ่องสอน ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

322
0

เมื่อเวลา 10.30  วันที่  8  มิ.ย  65  นายเชษฐา โมสิกรัตน์  ผวจ.แม่ฮ่องสอน ได้เป็นประธานในพิธีมอบใบอนุญาตผู้ผลิตและแปรรูปสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ IG ให้แก่ผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้าถั่วลายเสือ และกระเทียมในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน  230 ราย ที่ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์ครู อ.เมืองแม่ฮ่องสอน หลังทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้มีการโครงการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ในกิจกรรมการฝึกอบรมสร้างการรับรู้ความเข้าใจเพื่อรักษามาตรฐานการผลิตและพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และพิธีมอบใบอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ให้แก่ผุ้ประกอบการจำหน่ายสินค้า ถั่วลายเสือและ กระเทียแม่ฮ่องสอน

 พร้อมนิทรรศการการแสดงสินค้า การพัฒนาต่อยอดไอเดียธุรกิจ เพื่อส่งเสริมการจำหน่ายสินค้า GI  การเสนอไอเดีย/ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ แปรรูปสินค้า โดยเชฟ/ผู้ประกอบการผู้มีประสบการณ์ และการจับคู่เจรจาธุรกิจปิดยอดสต๊อกสินค้า GI ในหัวข้อ Green Business Matching “เวทีแห่งการสร้างโอกาสและขยายธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”

ทั้งนี้องค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้มีการพัฒนาและยกระดับสินค้าเกษตรที่มีชื่อเสียงของจังหวัดแม่ฮ่องสอนให้สามารถแข่งขันด้านราคาด้วยคุณภาพมีกระบวนการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นที่ยอมรับและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค ด้วยการขอรับการจดขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ Geographical Indication (GI) 

เพื่อใช้เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการผลักดันการผลิตสินค้าเกษตรเชิงคุณภาพ และได้ดำเนินการจัดทำระบบการจัดเก็บข้อมูลเพื่อสามารถตรวจสอบย้อนกลับที่มาของผลิตภัณฑ์ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นต่อกระบวนการผลิตให้กับผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้

ซึ่งคาดหวังการแข่งขันด้านราคาในท้องตลาดที่เพิ่มสูงขึ้น โดยปัจจุบันองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ ทางภูมิศาสตร์กับกรมทรัพย์สินทางปัญญากระทรวงพาณิยช์แล้ว 2 ชนิด ได้แก่ ถั่วลายเสือซึ่งมีลักษณะฝักถั่วยาวเปลือกบาง ลายบนเปลือกเป็นร่องลึก เมล็ดถั่วมีขนาดใหญ่และมีลายขีดสีม่วงคล้ายกับลายเสือโคร่ง

เมื่อนำมาผ่านกระบวนการแปรรูปวิธีคั่วเกลือจากภูมิปัญญาท้องถิ่นจะทำให้ได้ถั่วลายเสือที่มีรสชาติกรอบหวานมันปนเค็มอ่อน ๆ และกระเทียมแม่ฮ่องสอนที่มีลักษณะเฉพาะคือ หัวกลมแป้น สีเปลือกนอกขาวอมม่วง เนื้อแน่น ผิดสีขาวหรือเหลืออ่อนและเรียบเนียนมีกลิ่นหอมฉุน รสชาติข้นข้างเผ็ดร้อน โดยใช้น้ำจากแหล่งต้นน้ำธรรมชาติบนภูเขาที่สะอาดบริสุทธิ์ในการเพาะปลูก

ดังนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรผู้ผลิตสินค้าทั้ง 2 ชนิด ตลอดจนถึงเกษตรกรประชาชนในพื้นที่รวมถึงส่วนราชการ หน่วยงานเอกชนในพื้นที่ ซึ่งจะได้ประโยชน์จากการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ตามวัตถุประสงค์การจดขึ้นทะเบียน ได้แก่ 1.สร้างความเชื่อมั่นในตัวสินค้าให้แก่ผู้บริโภค  2. สามารถใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาดในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าด้านคุณภาพและข้อมูลการผลิตสินค้าได้ 3. เป็นการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นในกระบวนการผลิตและแปรรูปสินค้า 4. สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในการร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและส่งเสริมหมู่บ้านท่องเที่ยวสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และ  5. โอกาสในการผลักดันสินค้าชุมชนก้าวสู่ตลาดระดับประเทศและระดับสากล

และเพื่อส่งเสริมเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีมาตรฐานและสามารถรักษามาตรฐานการผลิต สามารถสร้างโอกาสในการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ ตลอดจนถึงประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ในเกิดขึ้นในวงกว้าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอนจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ กิจกรรม การฝึกอบรมสร้างการรับรู้ความเข้าใจเพื่อรักษามาตรฐานการผลิตและพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ขึ้นดังกล่าว.

โชติ  นรามณฑล แม่ฮ่องสอน

Like (0)
บทความก่อนหน้านี้9 มิ.ย. ปลดล็อกกัญชา สสจ.พร้อมช่วยเหลือประชาชนลงทะเบียนผ่านแอพฯ
บทความถัดไปคณะ นบส. ศึกษาดูงานเส้นทางท่องเที่ยว บ้านออนใต้ อำเภอสันกำแพง