หน้าแรก ข่าวเชียงใหม่ ศวฮ.ผุดฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือน นวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่แบบยั่งยืน

ศวฮ.ผุดฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือน นวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่แบบยั่งยืน

488
0

ศูนย์เรียนรู้ฟาร์มอัจฉริยะ ซันสเปซ ฟาร์ม (ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – สำนักงานเชียงใหม่) “การพัฒนาระบบควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือน  โดยใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่แบบยั่งยืน ในภาคเหนือตอนบน 1”

เมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2566 ที่ศูนย์เรียนรู้ฟาร์มอัจฉริยะ ซันสเปซ ฟาร์ม (ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – สำนักงานเชียงใหม่) ถนน ซอยเวียงพิงค์ ต.ช้างคลาน อำเภอเมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ โดย ผศ.ดร.ภราดร สุรีย์พงษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทีมงานโครงการ ได้นำคณะผู้สื่อข่าว จ.เชียงใหม่ ลงพื้นที่ เยี่ยมชมโครงการ  “การพัฒนาระบบควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือน  โดยใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่แบบยั่งยืน ในภาคเหนือตอนบน 1”

โดย Sun Space Farm เป็นโรงเรือน 1 ใน 5 โรงเรือนที่ติดตั้งอุปกรณ์ SMART FARM จากโครงการ “การพัฒนาระบบควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือน โดยใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่แบบยั่งยืน ภาคเหนือตอนบน 1” เพื่อพัฒนาระบบควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือน ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่ภายในพื้นที่ และเพื่อแก้ไขปัญหาและลดความเสี่ยงด้านจัดการปลูกพืชสมุนไพรในโรงเรือนอัจฉริยะ และเพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการการปลูกพืชสมุนไพรในโรงเรือนอัจฉริยะด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่ ให้เป็นโรงเรือนต้นแบบ เพื่อใช้และ พร้อมสอนต่อไปยังกลุ่มเกษตรกร รวมถึงกลุ่มผู้ที่สนใจ เพื่อนำผลิตผลทางการเกษตรในฟาร์มให้เป็นพืชปลอดภัยได้ตามมาตรฐาน GAP และได้รับความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน Halal ด้านหลักศาสนบัญญัติอิสลาม

ซึ่งการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการปลูกพืชสมุนไพรในรูปแบบเกษตรอัจฉริยะ เป็นการนำเอาระบบเฝ้าระวัง (monitoring) และระบบควบคุม (control) ปัจจัยต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น การใช้น้ำ, อุณหภูมิ และความชื้น เป็นต้น ด้วยการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ loT (Internet of Things) โดยการติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์ (Sensor) และ อุปกรณ์ควบคุม(Controller) ภายในโรงเรือน และส่งข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ โดยเกษตรกรหรือผู้ใช้งานสามารถสั่งการ และเรียกดูการรายงานผลในรูปแบบข้อมูลและกราฟผ่านทางหน้าเว็บไซต์ (Website) ทําให้สามารถลดต้นทุนการผลิต ในกระบวนการเพาะปลูก และเพิ่มผลผลิตให้สามารถส่งออกตลาดได้อย่างเพียงพอ ด้วยในปัจจุบันชุมชนมีตลาดรองรับเป็นจํานวนมาก นอกจากนี้ยังลดการใช้เวลาและการพึ่งพาแรงงานอีกด้วย

ทั้งนี้ผลผลิตทางการเกษตรของฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการ อาทิ Flower snack (ผลิตภัณฑ์ดอกไม้อบกรอบปรุงรส),Hydrosol Drinking Water (น้ำกลั่นจากพืชใช้สำหรับบริโภค) ,PlantCosmetics Color (การสกัดสีจากพืชเพื่อการทำสกินแคร์และเครื่องสำอาง),Plant Probiotic (การทำโปรไบโอติกส์จากพืช) ,Plant encapsulation (การเอ็นแคปซูเลชั่นสารสกัดจากพืช),Nail Serum (เนเซรั่ม),Quranic Energy Bar(ขนมอบกรอบให้พลังงาน ผลไม้ผสมธัญพืช) ,BUTTERNUT SQUASH FLOUR (เส้นพาสต้าจากแป้งบัตเตอร์นัทสควอช) ,SevenDay tea (ชา 7 สี),Plant food color (การสกัดสีจากพืชเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและยา)

รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้ง ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวกับสื่อมวลชนผ่านระบบออนไลน์ ในเรื่องบีซีจีกับสมาร์ทฟาร์ม ว่า “บีซีจี (BCG)คือแผนการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมโดยพัฒนาพร้อมกันสามมิติ ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง โดยเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เน้นการนำวัสดุเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ทั้งสองเศรษฐกิจนี้อยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)

ซึ่งหมายถึงการพัฒนาสังคมควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน บีซีจีเป็นแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจที่รัฐบาลไทยนำเสนอในการประชุมเอเปค (APEC) ซึ่งเป็นความร่วมมือใน 21เขตเศรษฐกิจพื้นที่เอเชีย-แปซิฟิก ที่กรุงเทพฯ พ.ศ.2565 โดยประเทศสมาชิกเห็นชอบ ในเมื่อบีซีจีเป็นกรอบใหญ่ในการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคตโดยอาศัยประโยชน์จากการที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ศวฮ.จึงเห็นว่าการขับเคลื่อนองค์กรไปในทิศทางนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย ทั้งกับบุคลากรของ ศวฮ. มหาวิทยาลัยไปจนถึงประเทศชาติและต่อโลกในภาพรวม”

จากนั้นได้คณะสื่อมวลชน ไปเยี่ยมชม Good Health Market Chiangmai สาขาศรีดอนชัย ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพชั้นนำ เพื่อดูการนำผลิตผลทางการเกษตรในฟาร์มฯ มาต่อยอดในการจำหน่ายเป็นผลิตภันฑ์ ที่ได้มาตรฐาน

Like (1)
บทความก่อนหน้านี้วันสถาปนามหาวิทยาลัยพะเยา ครบรอบ 13 ปี
บทความถัดไปย้อนรอยคดีดัง!!…ปมสังหาร อำพรางคดีให้ออกมาในรูปแบบปลิดชีพตนเอง