หน้าแรก ข่าวเชียงใหม่ ชาวเชียงใหม่ช่วยกัน เฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพอันตราย

ชาวเชียงใหม่ช่วยกัน เฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพอันตราย

137
0

วันนี้( 28 เมษายน 2565)เวลา 09.00-12.30 น. ณ ห้องประชุมมูลนิธิพัฒนาเครือข่ายสุขภาพ สำนักงานภาคเหนือ ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ได้มีการเสวนาออนไลน์ผ่านระบบ Zoom เปิดสภาผู้บริโภค มีคุณรจนา ยี่บัว เจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน หน่วยงานประจำจังหวัดเชียงใหม่ สภาองค์กรของผู้บริโภค ,นางลำดวน มหาวัน หัวหน้าหน่วยจัดการจังหวัดเชียงใหม่, นางมลวิภา ศิริโหราชัย ประธานสภาผู้บริโภคจังหวัดเชียงใหม่ ,นางนฤมล ขันตีกุล รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมประชุม

สาระสำคัญได้กล่าวว่า คนไทยเจ็บปวย เสียชีวิต จากสารปนเปื้อนใน “ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอาหารเสริม” ที่มีสารอันตรายเป็นส่วนผสม ซึ่งกิดจากการใช้ยาเป็นเวลานานจะเกิดอาการ บวม เลือดออกในกระเพาะอาหาร ไตวาย และเสียชีวิต หากหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลผลิตภัณฑ์ “ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ”ไม่สามารถสร้างกลไกการเฝ้าระวัง เตือนภัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อีกไม่กี่ปีข้างหน้าคาดการณ์ว่าคนไทยจะเผชิญปัญหาร้ายแรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์ “ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอาหารเสริม”ที่ผสมสารอันตราย หรือด้อยคุณภาพเพิ่มมากขึ้นการบูรณาการการทำงานร่วมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงเป็นความจำเป็นและสำคัญ

ซึ่งสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) เป็นองค์กรที่เกิดจากการรวมตัวขององค์กรผู้บริโภคตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 46 และตามพระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562 มีฐานะเป็นผู้แทนของผู้บริโภค มีความเป็นอิสระและมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในทุกด้าน เป็นปาก เป็นเสียงให้ผู้บริโภคที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ให้ข้อมูล เตือนภัย ให้ผู้บริโภคใช้ชีวิตอย่างเท่าทัน

พร้อมสนับสนุนการรวมตัวของผู้บริโภคให้เกิดเป็นพลังในการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคม การพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมถึงการเพิ่มอำนาจต่อรองให้ผู้บริโภค เพื่อลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรมในสังคมให้มากขึ้น

จากการดำเนินแผนงาน เฝ้าระวัง เตือนภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพอาหารเสริม “ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอาหารเสริม” ที่มีสารปนเปื้อนในชุมชน โดยร่วมกับกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคเภสัชสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่หน่วยงานประจำจังหวัดเชียงใหม่ สภาองค์กรของผู้บริโภค และองค์กรผู้บริโภคในระดับพื้นที่ 8 อำเภอ

ได้แก่อำเภอสันกำแพง อำเภอสันป่าตอง อำเภอดอยหล่อ อำเภอจอมทอง อำเภอสันทราย อำเภอฝาง อำเภอเชียงดาว อำเภอเมืองและอำเภอหางดง พบว่ามีการลักลอบจำหน่าย ในร้านชำ ตลาดนัด ที่สำคัญบางพื้นที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเปั่นผู้จำหน่ายเอง ขณะเดียวกันการโฆษณาและจำหน่าย ยา อันตราย เช่น แก้ปวดเมื่อยลักลอบใส่สารสเตียรอยด์ ลดความอ้วนใส่สารไยบูทรามีน เป็นต้น

ปัจจุบันยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอาหารเสริมที่ด้อยคุณภาพ หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพเหล่านี้มีช่องทางการเข้าถึงง่ายและพัฒนาการตลาดในรูปแบบใหม่ ทั้งทางไปรษณีย์ ทางตลาดออนไลน์ มาในรูปแบบแอปฯใหม่ๆ และสั่งซื้อได้ง่าย หรือจำหน่ายโดยผ่านผู้มีประสบการณ์ใช้และบอกต่อเพื่อนบ้านในชุมชนหน่วยงานหลักที่กำกับดูแล มีข้อจำกัดหลายด้าน ตลอดจนกฎหมายที่ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ไม่สามารถกำกับดูแลยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอาหารเสริมในท้องตลาดอย่างทั่วถึง

เรามักเห็นข่าวที่ปรากฏ คนไทยเจ็บป่วย เสียชีวิต จากสารปนเปื้อนในยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอาหารเสริมที่มีสารอันตรายเป็นส่วนผสม หากหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลคาดการณ์ว่าคนไทยจะเผชิญปัญหาร้ายแรงจากการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอาหารเสริมผลิตภัณฑ์สุขภาพอาหารเสริมที่ผสมสารอันตรายหรือด้อยคุณภาพสถานการณ์ปัญหาผลกระทบ

จากข้อมูลที่หน่วยงานประจำจังหวัดเชียงใหม่ที่เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียน ผลการดำเนินงานรับเรื่องร้องเรียน จังหวัดเชียงใหม่ มกราคม 2564 – 30 เมษายน 2565 ด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีจำนวนเรื่องร้องเรียน 65 เคสและการดำเนินงานเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพของแกนนำพบว่ามีผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยไม่มีเลขทะเบียนและมีสเตียรอยต์ระบาดในพื้นที่ ชุมชน ผู้บริโภคได้รับผลกระทบจาการใช้สเตียรอยด์จากการลงพื้นที่เยี่ยมของ
เจ้าหน้าที่และแกนนำผู้บริโภคในพื้นที่ และพบผลิตภัณฑ์ที่มีสเตียรอยด์ หลังจากการส่งตรวจ และแจ้งไปยัง สสจ.และจับกุมแหล่งผลิตกรณี ปู่แดงตามข่าว

ข้อเสนอแนะการเปิดสภาผู้บริโภคจังหวัดเชียงใหม่
1.ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินจัดการปัญหาเฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพอันตรายและโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายอย่างจริงจัง

2.เพิ่มกลไกในการเฝ้าระวัง ตรวจสอบและติดตามร่วมกันในพื้นที่โดยมีเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทำงานร่วมกันหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการและจัดการแก้ไขปัญหา

3.เผยแพร่ประชาสัมพันธ์รณรงค์สร้างความเข้าใจให้กับผู้บริโภคผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อเตือนภัยผู้บริโภค

4.สนับสนุนให้มีพื้นที่การทำงานที่เป็นรูปธรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพอันตรายและโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย และขยายพื้นที่ให้ครอบคลุมพื้นที่

Like (0)
บทความก่อนหน้านี้ยังฟินไม่เลิก…ข้าวเหนียวมะม่วง คุณนาย เมืองพะเยา รายได้วันละครึ่งหมื่น
บทความถัดไปกระทรวงพาณิชย์จัดงานมหกรรมการค้าชายแดนไทย-เมียนมา กระตุ้นเศรษฐกิจแม่ฮ่องสอน