หน้าแรก ข่าวทั่วไป สมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย ตอกย้ำ ความร่วมมือของเครือข่ายทั่วโลก

สมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย ตอกย้ำ ความร่วมมือของเครือข่ายทั่วโลก

286
0

สมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย จัดงานเปิดตัวสมาคมฯและจัดงาน Social Value Thailand Forum 2022

โดยเปิดเวทีสะท้อนเสียงในระดับนโยบาย จัดเสวนา “Buiding Impact Ecosystem in Thailand” ซึ่งได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ปฏิบัติ ดร.ชรินทร์ เตชะพันธุ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , รองศาสตราจารย์ ดร.ชลวิทย์ เจียรจิตต์ รองอธิการบดีฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์เพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ , รศ.ดร. ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) , นายอธิภัทร วรางคนันท์ เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ UNFPA Thailand และ นางสาวอรนุช เลิศสุวรรณกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด ร่วมเสวนา

นับเป็นการขยายการรับรู้และภาคีความร่วมมือสมาคมฯ สู่กลไกการปฏิบัติในภาคส่วนต่าง ๆ ภายใต้ธีมงาน Maximize Impact Through Partnerships: Collaborate Advantage ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 16 ธันวาคม 2565 ที่โรงแรม Wintree City Resort จังหวัดเชียงใหม่ และยังเปิดกว้างให้ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมติดตามผ่าน Facebook Live ได้ที่ช่องทาง Facebook: Social Value Thailand ผู้เข้าร่วมงานยังได้สิทธิพิเศษในการร่วมเป็นสมาชิกสมาคมฯ และได้รับการสนับสนุนและเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือร่วมกัน

ศาสตราจารย์ปฏิบัติ ดร.ชรินทร์ เตชะพันธุ์ กล่าวหลังการเสวนาว่า “เรื่องของการขับเคลื่อนที่เกี่ยวข้องกับทำให้คนเห็นคุณค่าของาน 1 ชิ้่นที่ผลิตขึ้นมาโดยเฉพาะนักวิจัยหรืออาจารย์ในมหาวิทยาลัยซึ่งได้สร้างผลงานขึ้นมาแล้วนำไปแก้ปัญหาให้กับสังคมแต่ในที่สุดก็ไม่สามารถที่จะวัดคุณค่าผลกระทบต่อเนื่องได้ ก็ต้องพยายามหาเครื่องมือมาตอบสนองและสุดท้ายเราก็เจอเครื่องมือสากลที่ใช้กันก็คือ Social return on investment หรือ SROI การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมเป็นเครื่องมือที่ทางสังคมยอมรับ

เนื่องจากเป็นตัวที่วัดผลกระทบเชิงลบและเชิงบวก งาน1ชิ้นที่ผลิตออกมาอาจจะเป็นประโยชน์ต่อคน 1 กลุ่มแต่ในขณะเดียวกันอาจจะไปทำให้คนอีกกลุ่มอาชีพนั้นหายไป จึงเชื่อถือได้ว่า SROI เป็นเครื่องมือที่เชื่อถือได้ ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้มองว่ามีองค์กรไหนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล จึงมาเป็นที่มาของความร่วมมือกับ สมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย และได้นำเครื่องมือชิ้นนี้มาวัดผลงานของทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เองเพื่อที่จะบอกตัวตนได้ว่าสิ่งที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เราทำมากว่า 60 ปีสร้างผลกระทบอะไรให้กับสังคมได้มากน้อยแค่ไหน”

ดร.อำพล อาภาธนากร นายกสมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย (Social Value Thailand หรือ SVThailand) ตอกย้ำบทบาทของสมาคมฯ ในการส่งเสริมมาตรฐานสากลและความร่วมมือของเครือข่ายทั่วโลกมาสู่การยกระดับการวางแผนนโยบาย การบริหารจัดการในองค์กรทุกภาคส่วน บทบาทของสมาคมในช่วงแรกมุ่งเน้นการส่งเสริมวิชาชีพผู้ประเมินมูลค่าทางสังคม (Professional Pathway)

สืบเนื่องจากการบุกเบิกการจัดอบรมของ SVThailand ร่วมกับ Social Value International ตั้งแต่ปี 2017 มาอย่างต่อเนื่อง เราร่วมกับภาคีพันธมิตร SV Accelerator Partner อาทิ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นต้น เพื่อร่วมจัดอบรมสร้างผู้ประเมินในระดับภูมิภาค

นอกจากนั้น สมาคมฯ มุ่งพัฒนากลไกการประเมินที่น่าเชื่อถือ การรับรองรายงานการประเมินและจัดการทดสอบเพื่อยกระดับมาตรฐานวิชาชีพ (Assurance Standard) เราเชื่อว่ากลไกของสมาคมฯ และสมาชิกจากหลากหลายภาคส่วนจะผลักดันให้ “ผู้ประเมินมูลค่าทางสังคม” เสริมพลังการขับเคลื่อนงานขององค์กรภาครัฐ ภาคการศึกษา มหาวิทยาลัย ภาคเอกชน ภาคสังคมให้บรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ดีมากขึ้น

Like (0)
บทความก่อนหน้านี้Chiangmai Countdown 2023 แลนด์มาร์กเคานต์ดาวน์ที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ
บทความถัดไปวิกฤตนกยูงไทย “คนอยู่ได้ นกยูงอยู่ได้” ฐานที่มั่นสุดท้ายของนกยูงไทย สู่แบนด์รำแพน