หน้าแรก ข่าวจังหวัดพะเยา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา เป็นเจ้าภาพ 13th SCiUS Forum

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา เป็นเจ้าภาพ 13th SCiUS Forum

773
0

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา เป็นเจ้าภาพจัดงานกิจกรรม SCiUS Forum ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 2 – 5 พฤษภาคม 2566 เพื่อให้นักเรียนโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย หรือโครงการ วมว.ทั่วประเทศ รวมถึงคณะครูและนักเรียนจากประเทศญี่ปุ่น ได้นำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์และเผยแพร่ผลงานตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ

โดยครั้งนี้รองศาสตร์.ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา กล่าวรายงานความเป็นมาของกิจกรรม ว่าที่ร้อยตรี ณรงค์โรจนโสทร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ และรองศาสตราจารย์ดร.พาสิทธิ์หล่อธีรพงศ์รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดในพิธีโดยจัดขึ้น ณ ห้อง UB003 อาคาร 99 ปี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ มหาวิทยาลัยพะเยา

กิจกรรม SCiUS Forum ครั้งที่ 13 เกิดจากความร่วมมือทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรมระหว่างสถาบัน โดยมีสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และคู่ศูนย์มหาวิทยาพะเยา – โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมเป็นเจ้าภาพหลัก ซึ่งมีนักเรียนในโครงการวมว. จากมหาวิทยาลัยและโรงเรียนคู่ศูนย์ทั่วประเทศเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 16 มหาวิทยาลัย 19 โรงเรียนมีผู้เข้าร่วมกว่า 1,130 คน

และในครั้งนี้ มีคณะครูและนักเรียนจากประเทศญี่ปุ่น เข้าร่วมกิจกรรมกล่าวสุนทรพจน์ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการใช้ชีวิตในญี่ปุ่น จำนวน 4 โรงเรียน ถือว่าเป็นก้าวแรกในการยกระดับการจัดกิจกรรม SCIUS Forum ให้มีมุ่งสู่ความเป็นสากล และระดับนานาชาติกิจกรรมในระหว่างวันที่ 2 – 5 พฤษภาคม 2566

มีการนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สากล ด้วยกระบวนการ Active learning ผ่านรูปแบบ Digital platform กิจกรรมพิเศษ Idea Pitching การนำเสนอแบบ poster การบรรยายพิเศษเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรมหลากหลายหัวข้อ อาทิหัวข้อ “เข็มทิศวิจัยเพื่อเป้าหมายประเทศ” โดย คุณเฉลิมพล ปุณโณทก ประธานกรรมการบริหาร CTAsia, CT Asia Roboticsหัวข้อ “Non-human Primates and Human Primates: Biodiversity and Biotechnology” โดยศ.ดร.สุจินดา มาลัยวิจิตรนนท์ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยไพรเมทเเห่งชาติหัวข้อ “เจ้าพ่อวงการหุ่นยนต์ไทยไปไกลถึงญี่ปุ่น” โดยคุณเฉลิมพล ปุณโณทก ประธานกรรมการบริหาร CT Asia, CT Asia Robotics หัวข้อ “ธุรกิจที่ดีต้องมีนวัตกรรม : เหตุผลที่ต้องเริ่มธุรกิจตั้งแต่ยังเรียน” โดยคุณรัชวุฒิพิชยาพันธ์กรรมการผู้จัดการและผู้ร่วมก่อตั้ง แอปพลิเคชัน Fixzy เป็นต้น

โครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย หรือโครงการ วมว.เป็นโครงการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนสำหรับผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินการ การบริหาร จัดการหลักสูตรการเรียนการสอนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนซึ่งอาจเป็นโรงเรียนเครือข่ายหรือโรงเรียนในกำกับของมหาวิทยาลัยโดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นผู้ให้การสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน

มหาวิทยาลัยพะเยาได้เข้าร่วมโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนโดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) ภายใต้การดำเนินงานของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา ตั้งแต่ปีการศึกษา2558 ซึ่งปัจจุบันมีนักเรียนในโครงการ วมว.ที่สำเร็จการศึกษาแล้วจำนวน 6 รุ่น นับเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของมหาวิทยาลัย ที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตทรัพยากรบุคคลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศอย่างยังยืน

อนันต์ ข่าวพะเยา

Like (0)
บทความก่อนหน้านี้มิตรภาพบุญ 2 แผ่นดิน ไทย-ลาวผู้คนนับพันร่วมทอดผ้าป่า ไฟโซล่าเซลล์
บทความถัดไปจากใต้ขึ้นเหนือ จวนแอ่วงาน ชิม ช้อป “หลาดใต้ เปิงใจ๋ กาดเหนือ”