หน้าแรก ข่าวทั่วไป คณะพยาบาลศาสตร์ มช. ลงพื้นที่ให้ความรู้และความสุขช่วงโควิด 19 แก่ชาวอุโมงค์ ลำพูน

คณะพยาบาลศาสตร์ มช. ลงพื้นที่ให้ความรู้และความสุขช่วงโควิด 19 แก่ชาวอุโมงค์ ลำพูน

263
0

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รังสิยา นารินทร์ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์ อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาการพยาบาลสาธารณสุข และ นายสุพจน์ เชี่ยวชาญ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ งานบริหารทั่วไป คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรการอบรมในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการตำบลอุโมงค์ จังหวัดลำพูน

ภายใต้กิจกรรมการสร้างสุขภาพดีได้จากที่บ้าน กิจกรรมสร้างใจให้แข็งแรง การสื่อสารด้านสุขภาพ กิจกรรมอุโมงค์ดูแลกายใจซึ่งกันและกัน “โควิด 19 นี้ ชาวอุโมงค์ต้องรอด” พิธีเปิดได้รับเกียรติจาก นายกิติพัฒน์ ธนินภิตินันท์ นายกเทศมนตรีตำบลอุโมงค์ เป็นประธาน เมื่อวันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2564 ณ ห้องประชุมศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ผู้เข้าร่วมการอบรมได้แก่ แกนนำ อสม.สมาชิกชมรมอาสาปันสุข และ ประชาชนในพื้นที่ที่สนใจ


..
กิจกรรมประกอบด้วยการบรรยายพิเศษในหลายหัวข้อ อาทิ “การสร้างสุขภาพดีได้จากที่บ้านและของใช้ใกล้ตัว” “สื่อสารด้านสุขภาพในชุมชนอย่างไรให้ปังปุริเย่” “ตื่นรู้อย่างเข้าใจตระหนักแต่ไม่ตระหนกกับโควิด-19” นอกจากนี้ยังสาธิตวิธีการตรวจหาเชื้อโควิด 19 แบบ RT-PCR (Real Time – Polymerase chain reaction) และ ATK (Antigen Test Kit) แก่ผู้เข้าร่วมรับการอบรมซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

กิจกรรมดังกล่าวเป็นหนึ่งในการดำเนินโครงการ U2T ของมหาวิทยาลัย เน้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเสริมสร้างอาชีพใหม่ภายในชุมชน แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาสัมมาชีพและการสร้างอาชีพ ด้านการสร้างและพัฒนา Creative Economy ด้านการนำองค์ความรู้ไปช่วยพัฒนาชุมชน (Health care) และ ด้านการส่งเสริมสิ่งแวดล้อม Circular Economy เน้นการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมในพื้นที่


..
เทศบาลตำบลอุโมงค์ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง ได้รับการจัดสรรงบประมาณตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจ สังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย U2T) ตระหนักถึงผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ประชาชนว่างงาน บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษาที่ไม่สามารถหางานทำได้

การขับเคลื่อนการทำงานดังกล่าวมุ่งสร้างให้เห็นเป็นรูปธรรมและการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง นำนโยบายและแนวทางสนับสนุนมาต่อยอดการทำงานของพื้นที่ที่ยังต้องการองค์ความรู้ เพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพต่อเนื่องให้บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ

Like (0)
บทความก่อนหน้านี้ไอเดียเก๋ เสริมแกร่งภาษา อังกฤษ-จีน สู้วิกฤตโควิด นำร่องให้ ร.ร.แม่วัดแก้ดน้อย
บทความถัดไปแม่เหียะเปิดศูนย์ CI – ศูนย์แยกกักตัวในชุมชน รองรับผู้ป่วยสีเขียว | เชียงใหม่